มารยาท ระเบียบ และข้อบังคับในการใช้อินเทอร์เน็ต จากปัญหาการล่อลวงอินเกิดจากการเล่นอินเทอร์เน็ตที่นับวันจะยิ่งมีมากขึ้น ทำให้หน่วยงานที่รับผิดชอบได้พยายามหามาตรการป้องกันปัญหาและภัยจากการใช้อินเทอร์เน็ต ซึ่งเกิดจากคนที่ขาดจิตสำนึกที่ดีต่อสังคม ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะสร้างจิตสำนึกที่ดีต่อทั้งตนเอง และสังคม เพื่อหลีกเลี่ยงและรับมือกับความเสี่ยงจากภัยออนไลน์ ทั้งนี้รองศาสตราจารย์ยืน ภู่วรวรรณ ได้กล่าวถึง บัญญัติ 10 ประการ ซึ่งเป็นจรรยาบรรณที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตควรยึดถือไว้เสมือนเป็นแม่บทของการปฏิบัติ ซึ่งผู้ใช้พึงระลึกและเตือนความจำเสมอ ดังนี้
1. ต้องไม่ให้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น เช่น ไม่เผยแพร่ข้อความกล่าวหาบุคคลอื่นให้ได้รับความเสียหาย ไม่เผยแพร่รูปภาพลามกอนาจาร เป็นต้น
2. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์รบกวนการทำงานของผู้อื่น เช่น การเล่นเกมหรือเปิดเพลงด้วยคอมพิวเตอร์รบกวนผู้อื่นที่อยู่ใกล้เคียง
3. ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาต
4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
6. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์คัดลอกหรือใช้โปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาต
7. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
8. ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง
9. ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันเป็นผลมาจากการกระทำของตน
10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎ ระเบียบ กติกา และมีมารยาทของหน่วยงาน สถาบันหรือสังคมนั้นๆ
วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2558
สู้เพื่อแม่
แม่ เป็นภาระให้แก่ลูกทุกคนมาตั้งแต่เกิด นั่นเป็นความจริงที่เราไม่อาจจะปฏิเสธได้ ก็ลองคิดดูสิ ตั้งแต่เราเกิดมา ยังไม่เคยเห็นหน้าค่าตากันเลย อยู่ดีๆ ผู้หญิงคนนี้ก็มาโอบอุ้ม ถูกเนื้อต้องตัวเรา มิวายที่เราจะแหกปากร้องไห้ขับไล่ไสส่งยายผู้หญิงคนนี้ขนาดไหน เธอก็ยังพยายามปลอบโยน เห่กล่อมเราอยู่นั่นแหละ เป็นภาระให้เราต้องจำใจเงียบ ยอมนอนดูดนมเธออยู่จั่บๆๆ
พอเราเริ่มเตาะแตะ ตั้งไข่จะเดินไปไหนต่อไหนมั่ง คุณเธอก็ยังคอยเรียกหาเราอยู่นั่นแหละ
"มานี่มาลูก มานี่มา อีกนิดเดียวลูก อีกนิดเดียว อีกก้าวเดียว "ไม่รู้จะเรียกทำไมนักหนา ไอ้เราก็เดินล้มลุกคลุกคลานอยู่ เห็นมั้ย เป็นภาระที่เราต้องเดินไปให้เธอกอดอีก
โตขึ้นมาอีกนิด เราเริ่มกินอาหารได้ หล่อนก็เอาอะไรนักหนาไม่รู้ เละๆ เทะๆ มาบดให้เรากิน ไอ้เราจะไม่กินก็ไม่ได้ เดี๋ยวแม่จะน้อยใจ ก็เอาวะ เอาซะหน่อย เคี้ยวไปเเจ่บๆ อย่างนั้นแหละ แม่คุณก็ยิ้มปลื้ม คงนึกว่าเราอร่อยตายล่ะมั้งนั่นน่ะ กล้วยบดนะจ๊ะ เธอจ๋า ในปากฉันตอนนี้น่ะ ถ้าคิดว่ามันอร่อยขนาดนั้น ทำไมไม่ลองทานเองดูมั่งล่ะ
โตขึ้นมาอีกนิด เราเริ่มกินอาหารได้ หล่อนก็เอาอะไรนักหนาไม่รู้ เละๆ เทะๆ มาบดให้เรากิน ไอ้เราจะไม่กินก็ไม่ได้ เดี๋ยวแม่จะน้อยใจ ก็เอาวะ เอาซะหน่อย เคี้ยวไปเเจ่บๆ อย่างนั้นแหละ แม่คุณก็ยิ้มปลื้ม คงนึกว่าเราอร่อยตายล่ะมั้งนั่นน่ะ กล้วยบดนะจ๊ะ เธอจ๋า ในปากฉันตอนนี้น่ะ ถ้าคิดว่ามันอร่อยขนาดนั้น ทำไมไม่ลองทานเองดูมั่งล่ะ
โตขึ้นมาอีกนิด เราเริ่มกินอาหารได้ หล่อนก็เอาอะไรนักหนาไม่รู้ เละๆ เทะๆ มาบดให้เรากิน ไอ้เราจะไม่กินก็ไม่ได้ เดี๋ยวแม่จะน้อยใจ ก็เอาวะ เอาซะหน่อย เคี้ยวไปเเจ่บๆ อย่างนั้นแหละ แม่คุณก็ยิ้มปลื้ม คงนึกว่าเราอร่อยตายล่ะมั้งนั่นน่ะ กล้วยบดนะจ๊ะ เธอจ๋า ในปากฉันตอนนี้น่ะ ถ้าคิดว่ามันอร่อยขนาดนั้น ทำไมไม่ลองทานเองดูมั่งล่ะ
ทีนี้พอเราเริ่มพูดจารู้เรื่องขึ้นมาหน่อย คราวนี้ยังไงล่ะ ผู้หญิงคนนี้กลับขับไล่ไสส่งให้เราไปโรงเรียนซะอีก ไม่ไปก็ไม่ได้ด้วยนะ บางทีมีตีเราเข้าให้อีก ภาษาอะไรนักก็ไม่รู้ เอามาให้เราหัดอ่านหัดเรียนใช่มั้ย ลองคิดดูนะ สัปดาห์หนึ่งต้องไปโรงเรียนตั้งห้าวันน่ะ มันภาระหนักหนาแก่เราแค่ไหน
แต่พอถึงเวลาเราจะดูทีวี ดูหนังการ์ตูน นอนดึกขึ้นมาสักหน่อย ลองนึกย้อนไปสิ ใครกันเคี่ยวเข็ญให้เราไปนอนด้วย ตัวเองง่วงจะนอนคนเดียวก็ไม่ได้นะ ต้องบังคับให้เราไปนอนเป็นเพื่อนด้วย ใช่มั้ย ที่พูดนี่ไม่ใช่ลำเลิกหรอกนะ เพียงแค่อยากให้เห็นใจกันบ้างเท่านั้น
วันเวลาผ่านไป เราโตขึ้น แต่แม่ก็ยังไม่ยอมโตตามเราสักที ลูกอยากจะทำผมทำเผ้า แต่งเนื้อเเต่งตัวให้มันดูอินเทรนด์ ดูทันสมัย ใคร ใครกันเป็นตัวสกัดดาวรุ่ง พูดแล้วขนลุก ผู้หญิงคนนี้มีพัฒนาการไม่คืบหน้าไปไหนเลย ว่ามั้ย
โตขึ้นมาอีกนิด เราเริ่มกินอาหารได้ หล่อนก็เอาอะไรนักหนาไม่รู้ เละๆ เทะๆ มาบดให้เรากิน ไอ้เราจะไม่กินก็ไม่ได้ เดี๋ยวแม่จะน้อยใจ ก็เอาวะ เอาซะหน่อย เคี้ยวไปเเจ่บๆ อย่างนั้นแหละ แม่คุณก็ยิ้มปลื้ม คงนึกว่าเราอร่อยตายล่ะมั้งนั่นน่ะ กล้วยบดนะจ๊ะ เธอจ๋า ในปากฉันตอนนี้น่ะ ถ้าคิดว่ามันอร่อยขนาดนั้น ทำไมไม่ลองทานเองดูมั่งล่ะ แต่พอถึงเวลาเราจะดูทีวี ดูหนังการ์ตูน นอนดึกขึ้นมาสักหน่อย ลองนึกย้อนไปสิ ใครกันเคี่ยวเข็ญให้เราไปนอนด้วย ตัวเองง่วงจะนอนคนเดียวก็ไม่ได้นะ ต้องบังคับให้เราไปนอนเป็นเพื่อนด้วย ใช่มั้ย ที่พูดนี่ไม่ใช่ลำเลิกหรอกนะ เพียงแค่อยากให้เห็นใจกันบ้างเท่านั้น วันเวลาผ่านไป เราโตขึ้น แต่แม่ก็ยังไม่ยอมโตตามเราสักที ลูกอยากจะทำผมทำเผ้า แต่งเนื้อเเต่งตัวให้มันดูอินเทรนด์ ดูทันสมัย ใคร ใครกันเป็นตัวสกัดดาวรุ่ง พูดแล้วขนลุก ผู้หญิงคนนี้มีพัฒนาการไม่คืบหน้าไปไหนเลย ว่ามั้ย
พอเราสำเร็จจบการศึกษาเเล้วเป็นยังไง... เธอร้องไห้ครับ เชื่อเถอะว่าเธอต้องร้องไห้ ถ้าเราไม่เห็นก็แปลว่าเธอต้องแอบร้องไห้ มีอย่างที่ไหน เราคร่ำเคร่งร่ำเรียนมาแทบตาย แล้วตัวเองแท้ๆ ที่เป็นคนเริ่มเรื่อง พอเราเรียบจบแทนที่จะดีใจดันมาร้องไห้ มีอย่างที่ไหน
ดีนะว่าเราเข้าใจ คู่มือการเลี้ยงแม่ ก็เลยทำใจได้ ฝากเอาไว้ก่อนเถอะ ตอนนี้ขอไปฉลองการสำเร็จการศึกษากับพวกเพื่อนๆ ที่นอกบ้านก่อน ก็แหม เรียนจบทั้งที จะมาให้นั่งดูผู้หญิงแก่ๆ นั่งร้องไห้ทำไมล่ะ ใช่มั้ย
เป็นหนุ่มเป็นสาวกันแล้วนี่ คราวนี้ใครๆ ก็ต้องอยากมีแฟน คนโน้นก็ไม่ดี คนนี้ก็เรื่องมาก ผมยาวไปมั่งล่ะ ดูไม่มีความรับผิดชอบมั่งล่ะ...แม่ แม่จะไปรู้อะไร แม่เคยคบกับเขาเหรอ
ไม่ใช่แค่เรื่องคู่ครองเท่านั้นนะ แม่เขายังอยากรู้ไปจนถึงเรื่องอาชีพการงานด้วยว่าเราจะไปทำอะไร อยากเป็นอะไร
แม่ครับ แม่ไม่รู้สักเรื่องจะได้มั้ยพวกเราจะเป็นอะไรมันก็เรื่องของพวกเรา อนาคตของเรา ขอให้เราได้ตัดสินมันเอง แต่เรารับรองกับแม่ได้อย่างหนึ่งว่า เราจะไม่เป็นเหมือนแม่หรอก... เชย
นับจากบรรทัดแรก จนมาถึงบรรทัดนี้ เวลาก็ผ่านไปหลายปีแล้ว สมควรที่พวกเราจะแต่งงานมีครอบครัวเป็นของตนเองสักที ว่าแล้วเราก็ย้ายออกจากบ้านแม่ มายืนด้วยลำแข้งของตัวเอง อย่างที่แม่เคยพูดไง แล้วทำไมต้องมาทำตาละห้อยด้วยล่ะ วันที่เราย้ายออกมาน่ะ มันก็ไม่ได้ใกล้ มันก็ไม่ได้ไกลหรอกนะ ไอ้ที่ย้ายออกมาน่ะ แต่เวลามันรัดตัวจริงๆ ใช้โทร.คุยกันก็ได้นะแม่นะ
ถึงวันที่เรามีลูก แม่ยังพยายามอยากมาทำตัวเป็นภาระกับลูกเราด้วย เราบอกแม่ว่าไม่ต้องมายุ่งหรอก เราดูแลลูกของเราได้ เด็กสมัยนี้มันไม่เหมือนกับสมัยแม่แล้วล่ะ
แม่อายุเกือบหกสิบปีแล้ว โทร.มาไอแค่กๆ บอกไม่ค่อยสบาย เราบอกแม่ว่าอย่าคิดมาก ในใจเรารู้อยู่แล้วว่าแม่พยายามเรียกร้องความสนใจ นั่นเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติของคุณแม่วัยนี้
จวบจนกระทั่งวันหนึ่ง คุณโทร.กลับไปที่บ้านแม่ แต่... ไม่มีคนรับสายแล้ว อย่าเพิ่งตกใจ แม่อาจจะออกไปทำบุญที่วัดตามประสาคนแก่ก็ได้ ลองโทร.เข้ามือถือแม่ดูซิ...ไม่มีสัญญาณตอบรับจากเลขหมายที่ท่านเรียก...
อย่าเพิ่งด่วนสรุป มือถือแม่อาจจะแบตหมดก็ได้ ผู้หญิงคนนี้กระดูกเหล็กจะตายไป เธอต้องไม่เป็นอะไรแน่ๆ คิดฟุ้งซ่านไปได้ ยังไงแม่ก็ต้องรอเราอยู่เหมือนเดิมน่ะแหละ ไปหาเมื่อไหร่ก็ต้องเจอ อย่างมากแกก็อาจจะงอนนิดๆ หน่อยๆ พอเห็นหลานตัวเล็กๆ วิ่งเข้าไปกอดก็ขี้คร้านจะอ่อนยวบเป็นขี้ผึ้ง หลายวันผ่านไป ทำไมแม่ยังไม่โทร.กลับมาอีกนะ ทำบุญตักบาตรก็ไม่น่าจะรอคิวนานขนาดนี้ ชาร์จแบตมือถือไม่เต็มก็เป็นไปไม่ได้ ต่อให้เป็นแบตเตอรี่รถสิบล้อป่านนี้ไฟทะลักแล้ว
วันนี้แวะไปหาแม่สักหน่อยดีกว่า ระหว่างทางที่คุณขับรถไป ลูกคุณซนเป็นลิงอยู่ข้างๆ ประโยคมากมายที่หลุดจากปากคุณ ล้วนเเต่เป็นคำที่แม่คุณเคยพูดมาแล้วทั้งสิ้น คุณเพิ่งสัมผัสได้ ภาพเก่าๆ มากมายที่ผู้หญิงคนนั้นทำวิ่งวนอยู่ในหัวคุณ ช่างเถอะ.. เดี๋ยวเจอเธอแล้ว คุณจะสารภาพผิด แล้วทำทุกอย่างให้มันดีขึ้น แล้วคุณก็ได้เจอ คนที่คุณรู้สึกว่าเธอเป็นภาระให้กับคุณมาตั้งแต่เกิด
ผู้หญิงคนนั้น นอนตายในท่าที่คอยคุณมาตลอดชีวิต...
วันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
การ์ตูนแอนิเมชั่น เศรษฐกิจพอเพียง
การ์ตูนแอนิเมชั่น เศรษฐกิจพอเพียง
ที่มา www.youtube.com/watch?v=R76Q-TNAvC0
วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2558
เศรษฐกิจพอเพียง
- เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัสแก่ชาวไทยนับตั้งแต่ พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา[1][2] และถูกพูดถึงอย่างชัดเจนในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 ให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ [3]เศรษฐกิจพอเพียงมีบทบาทต่อการกำหนดอุดมการณ์การพัฒนาของประเทศ โดยปัญญาชนในสังคมไทยหลายท่านได้ร่วมแสดงความคิดเห็น อย่างเช่น ศ.นพ.ประเวศ วะสี, ศ.เสน่ห์ จามริก, ศ.อภิชัย พันธเสน, และศ.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา โดยเชื่อมโยงแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับวัฒนธรรมชุมชน ซึ่งเคยถูกเสนอมาก่อนหน้าโดยองค์กรนอกภาครัฐจำนวนหนึ่งนับตั้งแต่พุทธทศวรรษ 2520 และได้ช่วยให้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในสังคมไทยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในทางเศรษฐกิจและสาขาอื่น ๆ มาร่วมกันประมวลและกลั่นกรองพระราชดำรัสเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9[3][4] และได้จัดทำเป็นบทความเรื่อง "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" และได้นำความกราบบังคลทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2542 โดยทรงพระกรุณาปรับปรุงแก้ไขพระราชทานและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำบทความที่ทรงแก้ไขแล้วไปเผยแพร่ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาชนโดยทั่วไป เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ได้รับการเชิดชูจากองค์การสหประชาชาติ ว่าเป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศ[5] และสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกยึดเป็นแนวทางสู่การพัฒนาแบบยั่งยืน[6] โดยมีนักวิชาการและนักเศรษฐศาสตร์หลายคนเห็นด้วยกับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง แต่ในขณะเดียวกัน บางสื่อตั้งคำถามถึงการยกย่องขององค์การสหประชาชาติ รวมทั้งความน่าเชื่อถือของรายงานศึกษาและท่าทีขององค์การเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ยึดหลักทางสายกลาง ที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติของประชาชนในทุกระดับให้ดำเนินไปในทางสายกลาง มีความพอเพียง และมีความพร้อมที่จะจัดการต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะต้องอาศัยความรอบรู้ รอบคอบ และระมัดระวัง ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน ทั้งนี้ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นการดำเนินชีวิตอย่างสมดุลและยั่งยืน เพื่อให้สามารถอยู่ได้แม้ในโลกโลกาภิวัตน์ที่มีการแข่งขันสูงปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ทรงปรับปรุงพระราชทานเป็นที่มาของนิยาม "3 ห่วง 2 เงื่อนไข" ที่คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นำมาใช้ในการรณรงค์เผยแพร่ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงผ่านช่องทางสื่อต่าง ๆ อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วยความ "พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน" บนเงื่อนไข "ความรู้" และ "คุณธรรม"ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง อธิบายถึงการพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ว่า เป็นการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวตลอดจนการใช้ความรู้ ความรอบคอบละคุณธรรมประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำต่าง ๆ ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่พอประมาณ ความมีเหตุผล หมายถึง การใช้หลักเหตุผลในการตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ การมีภูมิคุ้มกันที่ดี หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงรอบตัว ปัจจัยเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้นั้น จะต้องอาศัยความรู้ และคุณธรรม เป็นเงื่อนไขพื้นฐาน กล่าวคือ เงื่อนไขความรู้ หมายถึง ความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังในการดำเนินชีวิตและการประกอบการงาน ส่วนเงื่อนไขคุณธรรม คือ การยึดถือคุณธรรมต่าง ๆ อาทิ ความซื่อสัตย์สุจริต ความอดทน ความเพียร การมุ่งต่อประโยชน์ส่วนรวมและการแบ่งปัน ฯลฯ ตลอดเวลาที่ประยุกต์ใช้ปรัชญา
การนำไปใช้[แก้]
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ถูกใช้เป็นกรอบแนวความคิดและทิศทางการพัฒนาระบบเศรษฐกิจมหภาคของไทย ซึ่งบรรจุอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่สมดุล ยั่งยืน และมีภูมิคุ้มกัน เพื่อความอยู่ดีมีสุข มุ่งสู่สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน หรือที่เรียกว่า "สังคมสีเขียว" ด้วยหลักการดังกล่าว แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 นี้จะไม่เน้นเรื่องตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ยังคงให้ความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจแบบทวิลักษณ์ หรือระบบเศรษฐกิจที่มีความแตกต่างกันระหว่างเศรษฐกิจชุมชนเมืองและชนบท[11]แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงยังถูกบรรจุในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ในส่วนที่ 3 แนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน มาตรา 78 (1) ความว่า: "บริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และความมั่นคง ของประเทศอย่างยั่งยืน โดยต้องส่งเสริมการดำเนินการตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติในภาพรวมเป็นสำคัญนอกจากเศรษฐกิจพอเพียงจะมีประโยชน์ต่อประเทศไทย ทั้งยังมีความสำคัญต่อการพัฒนาในต่างประเทศ การประยุกต์นำหลักปรัชญาเพื่อนำไปพัฒนาประเทศในต่างประเทศเหล่านั้น ประเทศไทยได้เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนผ่านทางสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ โดยมีหน้าที่คอยประสานงานรับความช่วยเหลือทางวิชาการด้านต่าง ๆ จากต่างประเทศมาสู่ภาครัฐ แล้วถ่ายทอดต่อไปยังภาคประชาชน และยังส่งผ่านความรู้ที่มีไปยังประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้น สำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศได้ถ่ายทอดมาไม่ต่ำกว่า 5 ปี และประสานกับสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งต่างชาติก็สนใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เพราะพิสูจน์แล้วว่าเป็นสิ่งที่ดีและมีประโยชน์ ซึ่งแต่ละประเทศมีความต้องการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับวิถีชีวิต สภาพภูมิศาสตร์ของแต่ละประเทศ โดยได้ให้ผู้แทนจากประเทศเหล่านี้ได้มาดูงานในหลายระดับ ทั้งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน เจ้าหน้าที่ฝ่ายนโยบาย จนถึงระดับปลัดกระทรวง และรัฐมนตรีประจำกระทรวงต่าง ๆนอกจากนั้นอดิเทพ ภาณุพงศ์ เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ได้กล่าวว่า ต่างชาติสนใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง[13] เนื่องจากมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงห่วงใยราษฎรของพระองค์ และทราบสาเหตุที่รัฐบาลไทยนำมาเป็นนโยบาย ส่วนประเทศพัฒนาแล้วก็ต้องการศึกษาเพื่อนำไปช่วยเหลือประเทศอื่นดร. สุเมธ ตันติเวชกุล ได้กล่าวถึงผลสำเร็จอย่างหนึ่งของเศรษฐกิจพอเพียงโดยองค์การสหประชาชาติ คือ "สหประชาชาติเห็นด้วยกับพระมหากษัตริย์ในเรื่องนี้ [เศรษฐกิจพอเพียง] โดยเริ่มใช้มาตรวัดคุณภาพชีวิตในการวัดความเจริญของแต่ละประเทศ แทนอัตราผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ซึ่งกล่าวถึงแต่ความเจริญทางเศรษฐกิจเท่านั้น - คำอธิบายถึง เศรษฐกิจพอเพียง ว่า "คือความพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภมาก และต้องไม่เบียดเบียนผู้อื่น"
- ที่มาhttps://th.wikipedia.org/wiki/เศรษฐกิจพอเพียง
ซอฟแวร์
ซอฟต์แวร์ (อังกฤษ: software) หรือ ส่วนชุดคำสั่ง [1] หรือบางครั้งมีการสะกดว่า ซอฟท์แวร์ เป็นส่วนของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล ซอฟต์แวร์นั้นนอกจากจะสามารถใช้งานบนคอมพิวเตอร์ได้แล้ว ยังสามารถใช้งานบนเครื่องใช้ หรืออุปกรณ์อื่น เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือหุ่นยนต์ในโรงงาน หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ คำว่า "ซอฟต์แวร์" ใช้ครั้งแรกโดย จอห์น ดับเบิลยู. เทอร์กีย์ (John W. Turkey) ในปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) โดยแนวคิดของซอฟต์แวร์ปรากฏครั้งแรกในเรียงความของแอลัน ทัวริง บิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์กล่าวกันว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ชิ้นแรกของโลกเขียนโดยเอดา ไบรอน เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับเครื่องวิเคราะห์ (analytical engine) ของชาร์ลส แบบเบจ
ความสัมพันธ์กับฮาร์ดแวร์
ซอฟต์แวร์ เป็นชื่อเรียกเพื่อใช้เปรียบต่างกับฮาร์ดแวร์ ซึ่งเป็นลักษณะทางกายภาพในการเก็บและประมวลผลของซอฟต์แวร์ ในคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์จะถูกเรียกใช้งานในแรมและประมวลผลผ่านซีพียู
ประเภทของซอฟต์แวร์
การแบ่งประเภทของซอฟต์แวร์แบ่งออกได้เป็นหลายแบบ เช่น
- การแบ่งเชิงเทคนิค อาจแบ่งซอฟต์แวร์เป็น 3 ประเภทหลักคือ
- ซอฟต์แวร์ระบบ (System/Infrastructure software) ใช้ในการทำให้คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ทำงานกับระบบคอมพิวเตอร์ได้ โดยรวมถึงระบบปฏิบัติการ ไดรเวอร์ และระบบหลักของคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ
- โปรแกรมประยุกต์ หรือซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application software) ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถดำเนินงานต่าง ๆ โดยทั่วไปเช่น โปรแกรมสำนักงานฐานข้อมูล คอมพิวเตอร์เกม เว็บเบราว์เซอร์ โดยโปรแกรมประยุกต์จะมีจียูไอ
- โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Tools/Utilities) ประกอบไปด้วยเครื่องมือช่วยให้โปรแกรมเมอร์เขียนโปรแกรมอื่น ๆ หรือโปรแกรมประยุกต์ได้ เครื่องมือต่าง ๆ ประกอบไปด้วย คอมไพเลอร์ อินเตอร์พรีเตอร์ ดีบักเกอร์
- การแบ่งตามรูปแบบการส่งมอบ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ
- ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป (Package software) ซอฟต์แวร์ที่มีการขาย ให้เช่า หรือให้บริการ โดยคิดค่าบริการเป็น transaction หรือ license
- ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาเงินเดือน (Outsources software development) เป็นการออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อใช้งานเฉพาะกับงานประเภทต่าง ๆ เฉพาะกิจกรรมไป ส่วนใหญ่ลิขสิทธิ์ของซอฟต์แวร์นี้จะเป็นของผู้ที่ว่าจ้างให้พัฒนาขึ้น
- การแบ่งตามประเภทของการนำไปใช้งานหลัก แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มคือ
- ซอฟต์แวร์ช่วยในการบริหารจัดการทั่วไป (Enterprise software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับการทำงานเพื่อแก้ปัญหา/จัดการทรัพยากรของ บุคคล/องค์กร เช่น ซอฟต์แวร์บัญชี ซอฟต์แวร์จัดทำเอกสาร เป็นต้น
- ซอฟต์แวร์สำหรับอุปกรณ์พกพาขนาดเล็ก (Mobile applications software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำงานผ่านระบบปฏิบัติการพิเศษบนอุปกรณ์ขนาดเล็ก เช่น โทรศัพท์มือถือ PDA โดยสามารถแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 2 กลุ่ม คือ (1) ซอฟต์แวร์เพื่อสนับสนุนธุรกรรมทางธุรกิจ (Business applications) เช่น Mobile banking, Mobile payment, GPS on Mobile, Mobile applications for business process management และ(2) ซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับนันทนาการและบันเทิง (Entertainment applications) ซึ่งรวมเกมบนโทรศัพท์เคลื่อนที่
- ซอฟต์แวร์สมองกลฝังตัว (Embedded System Software) เป็นซอฟต์แวร์ซึ่งฝังอยู่ไว้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เพื่อใช้สำหรับควบคุมการทำงานของอุปกรณ์นั้นๆ เช่น ระบบ GPRS ระบบทำความเย็นอัจริยะ ระบบตรวจสอบย้อนกลับ เป็นต้น
- ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/ ซอฟต์แวร์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)